1.ความรู้ที่อยู่ในตัวตน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล
เกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ต่าง ๆ ซึ่งสื่อสารหรือถ่ายทอดในรูปของตัวเลข สูตร หรือลายลักษณ์อักษร ความรู้ชนิดนี้พัฒนาและแบ่งปันกันได้และเป็นความรู้ที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
2.ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล
สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร และรายงานต่างๆ ซึ่งทำให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายในชีวิตจริง ความรู้ทั้ง 2 ประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานภาพสลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลาบางครั้ง Tacit ก็ออกมาเป็น Explicit และบางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนเป็น Tacit
ความรู้ทั้ง 2 ประเภท สามารถเปลี่ยนสถานะระหว่างกันได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์จะทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆโดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Knowledge Spiral หรือ SEIC Model ซึ่งคิดค้นโดย Michael Polanyi และ Ikujiro nonaka ดังนี้
1. Socialization เป็นขั้นตอนแรกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้าง Tacit Knowledge จากTacit Knowledge ของผู้ร่วมงานโดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงที่แต่ละคนมีอยู่
2. Externalization เป็นขั้นตอนที่สองในการสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มีอยู่และ
รูป 1 แสดงลักษณะการเรียนรู้ Knowledge Spiral
3. Combination เป็นขั้นตอนที่สามในการแปลงความรู้ขั้นต้น เพื่อการสร้าง Explicit
Knowledge จาก Explicit Knowledge ที่ได้เรียนรู้ เพื่อการสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit
4. Internalization เป็นขั้นตอนที่สี่และขั้นตอนสุดท้ายในการแปลงความรู้จาก Explicit Knowledge
กลับสู่ Tacit Knowledge ซึ่งจะนำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการปฏิบัติงานหรือใช้ในชีวิตประจำวัน
นอกจากนี้ ยังมีผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ ได้แก่ Leif Edvinsson ชาวสวีเดน
ได้แบ่งความรู้ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ความรู้เฉพาะคน Individual Knowledge
2. ความรู้องค์กร Organizational Knowledge
3. ความรู้ที่เป็นระบบ Structural Knowledge
ทั้งนี้ความรู้ทั้ง 3 ประเภท สามารถเป็นได้ทั้ง Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge
ที่มา https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:AvWYhIgnC9MJ:cdn.learners.in.th/
ความคิดเห็น
การทำควบคู่กันไป
ขั้นตอนการจัดการความรู้ ต้องทำควบคู่กันไปกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง change management เนื่องจากในกระบวนการจัดการความรู้ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จะมากหรือน้อยขึ้นกับพื้นฐานของแต่ละคน ซึ่ง IT เป็นแค่เครื่องมือเท่านั้น ไม่ใช่ THE END หรือ จุดหมายปลายทางของการจัดการความรู้